ข้อบังคับสมาคม

ข้อ 1. สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ลิมแคล็น

สะแม็น แอสโซซีเอชั่น ออฟ ไทยแลนด์” เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “LIM CLANSMAN

ASSOCIATION OF THAILAND” เรียกชื่อเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “ไท้กก ลิ่มสี จงชิงจงหวย”

เขียนเป็นภาษาจีนว่า “泰國林氏宗親總會”

ข้อ 2. ตราสมาคมนี้มีลักษณะดังไปนี้

ข้อ 3. สำนักงานใหญ่สมาคมนี้ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1930/24 ถนนเจริญนคร แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600

ข้อ 4. วัตถุประสงค์ของสมาคม

สมาคมนี้ตั้งขึ้นเพื่อความสมัครสมานสามัคคี และสานสัมพันธไมตรีระหว่างมวลสมาชิกในวงศ์ตระกูลลิ้ม แลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมวัฒนธรรม ประมวลประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูล ก่อสร้างอนุสรณ์สถานและสุสานของวงศ์ตระกูล ส่งเสริมการรักษาสุขภาพและสวัสดิการอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อสังคม และสมาชิกวงศ์ตระกูล ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด โดยปฏิบัติการดังต่อไปนี้ให้

4.1 รวบรวมเงินทุนจัดซื้อที่ดิน เพื่อก่อสร้างสำนักงานถาวรของสมาคม

4.2 จัดซื้อที่ดิน เพื่อก่อสร้างอนุสรณ์สถานตระกูลลิ้ม เพื่อบูชาตอบสนองคุณธรรมอันล้าเลิศของบรรพบุรุษ

4.3 ซื้อที่ดิน เพื่อจัดตั้งสุสานสาหรับเป็นที่ฝังศพของสมาชิกในวงศ์ตระกูล และบรรดาบุคคลทั่วไปในสังคม

4.4 ซื้อที่ดิน เพื่อจัดตั้งโรงเรียน และจัดตั้งกองทุนการศึกษา เพื่อผลิตผู้มีวิชาความรู้แก่สังคม

4.5 ซื้อที่ดิน เพื่อจัดตั้งหน่วยส่งเสริมบารุงรักษาสุขภาพให้แก่สมาชิกในวงศ์ตระกูล และบรรดาบุคคลทั่วไปในสังคม

4.6 ซื้อที่ดินและอาคาร เพื่อดำเนินสาธารณูปโภคให้แก่สมาชิกในวงศ์ตระกูล และบรรดาบุคคลทั่วไปในสังคม

4.7 รวบรวมเงินทุน เงินบริจาค และรับการให้ซึ่งสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์จากบรรดาบุคคลทั่วไป เพื่อดำเนินการตามกรอบวัตถุประสงค์ของสมาคม

ข้อ 5. บรรดาบุคคลตระกูลแซ่ลิ้ม ภรรยาบุคคลตระกูลแซ่ลิ้ม โดยไม่จำกัดสัญชาติ ถิ่นที่อยู่ และเพศ และเป็นบุคคลผู้มีความประพฤติเรียบร้อยและยินยอมปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคม ทั้งนี้ เมื่อสมาชิกสมาคมนี้ได้แนะนำบุคคลหนึ่งบุคคลใดต่อสมาคม บุคคลผู้ได้รับการแนะนำต่อสมาคมนั้น ย่อมมีสิทธิขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาคมนี้ได้

ข้อ 6. สมาชิกสมาคมนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ คือ

6.1 สมาชิกตลอดชีพ เสียค่าบำรุงสมาคมเพียงครั้งเดียว เป็นเงินจำนวน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)

6.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์

6.2.1 บุคคลทั่วไปที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นบัณฑิตชั้นปริญญาตรี โท หรือเอก และสมาคมนี้ได้เชื้อเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกสมาคม

6.2.2บุคคลตระกูลแซ่ลิ้ม ผู้ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงเกียรติคุณและทรงไว้ซึ่งคุณธรรมอันสูงส่งในสังคม และคณะกรรมการได้ลงมติเชื้อเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกสมาคม

6.3 สมาชิกอุปถัมภ์ บุคคลทั่วไปที่มีเมตตาจิตโดยไม่จากัดแซ่ ตระกูล และเพศ ซึ่งได้บริจาคเงินบำรุงแก่สมาคมนี้เป็นเงินจำนวนตั้งแต่ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ขึ้นไป หรือให้ทรัพย์สินแก่สมาคมและคณะกรรมการได้เชื้อเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกสมาคม

ข้อ 7. สมาชิกจะสูญเสียความเป็นสมาชิกภาพของสมาคมนี้โดยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ คือ

7.1 ถึงแก่กรรม

7.2 ลาออกจากความเป็นสมาชิกภาพของสมาคมนี้ โดยความสมัครใจ

7.3 ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของสมาคม ทำลายชื่อเสียงของสมาคม หรือล่วงเกินสิทธิประโยชน์ของสมาคม

7.4 ต้องคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา (ยกเว้นกรณีความผิดลหุโทษหรือความผิดที่กระทำโดยประมาท) หรือถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เว้นแต่ที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมร่วมกันลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของคณะกรรมการที่เข้าร่วมการประชุม เห็นว่าเป็นบุคคลที่ไม่สมควรสูญเสียความเป็นสมาชิกภาพของสมาคม

ข้อ 8. สมาคมจะไม่คืนเงินบำรุงสมาคมหรือเงินอื่นใด ซึ่งบุคคลผู้เป็นสมาชิกของสมาคมได้ชำระไว้ให้แก่สมาคม และภายหลังได้สูญเสียความเป็นสมาชิกภาพตามความในข้อ 7.

ข้อ 9. หน้าที่ของสมาชิกสมาคม

9.1 ต้องเคารพและปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคม และเคารพต่อมติของที่ประชุมคณะกรรมการสมาคม

9.2 ไม่ประกอบอาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์ของสมาชิกและสมาคม

9.3 รักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของสมาคม ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมด้านสวัสดิการ ด้านสังคมสงเคราะห์ด้านสาธารณูปโภค และด้านอื่น ๆ ของสมาคม

9.4 ให้ความร่วมมือ และความช่วยเหลือกับสมาคมในการแสวงหาเงินทุนสำหรับนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมด้านสวัสดิการ ด้านสังคมสงเคราะห์ และด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ของสมาคม

9.5 อุทิศเวลาให้แก่กิจการต่าง ๆ และการประชุมของสมาคม โดยมุ่งถึงผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นที่ตั้ง

9.6 แนะนำบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาคม

ข้อ 10. สิทธิของสมาชิกสมาคม

10.1 สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมการอาวุโสและคณะกรรมการสมาคม หรือสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการสมาคม แต่ทั้งนี้ สมาชิกกิตติมศักดิ์และสมาชิกอุปถัมภ์จะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง หรือสมัครรับเลือกตั้ง หรือออกเสียงลงคะแนนใด ๆ

10.2 สมาชิกผู้ใดถึงแก่กรรม ทางสมาคมยินดีจะสงเคราะห์เงินสวัสดิการของสมาคมให้แก่ครอบครัวของสมาชิกผู้ถึงแก่กรรม จำนวนรายละ 1,500 บาท (หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน)

10.3 สมาชิกผู้ใดมีความประสงค์จะให้สมาคมช่วยเหลือด้านงานมงคล หรืองานฌาปนกิจใด ๆทางสมาคมยินดีจะจัดส่งพนักงานไปช่วยในการจัดเตรียมงานดังกล่าว

10.4 สมาชิกผู้ซึ่งประสบภัยพิบัติใด ๆ และต้องการความช่วยเหลือทางด้านการเงินย่อมมีสิทธิร้องขอต่อสมาคม และคณะกรรมการสมาคมจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามที่จะเห็นสมควร

10.5 สิทธิใช้บริการหรือสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมนี้

ข้อ 11. ที่ประชุมใหญ่สมาชิกเป็นองค์กรสูงสุด และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

11.1 จัดทำและเปลี่ยนแปลงข้อบังคับสมาคม

11.2 กำหนดหลักการนโยบายกิจการของสมาคม

11.3 เลือกตั้งประธาน รองประธาน และคณะกรรมการอาวุโสของสมาคม

11.4 เลือกตั้งคณะกรรมการสมาคม

11.5 พิจารณางบประมาณ และอนุมัติงบดุลของสมาคม

ข้อ 12. ที่ประชุมใหญ่สมาชิกเลือกตั้งคณะกรรมการอาวุโส ซึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการอาวุโสถาวร ประธานอำนวยการคณะกรรมการอาวุโส ประธานกรรมการอาวุโส และรองประธานกรรมการอาวุโส รวมทั้ง คณะกรรมการอาวุโส โดยผู้ได้รับเลือกดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

12.1 ประธานกรรมการอาวุโสถาวร ต้องเป็นผู้ที่ได้แสดงผลงานดีเลิศ (คุณูปการ) ในการพัฒนากิจการของสมาคม และ/หรือเคยดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการคณะกรรมการอาวุโสมาสมัยใดสมัยหนึ่ง หรือดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอาวุโส มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 สมัย

12.2 ประธานอำนวยการคณะกรรมการอาวุโส ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอาวุโส โดยประธานกรรมการอาวุโสถาวร หรือประธานกรรมการอาวุโส เป็นผู้คัดเลือกขึ้นมาดำรงตำแหน่ง 1 คน

12.3 ประธานกรรมการอาวุโสต้องเป็นผู้ที่ได้แสดงผลงานดีเลิศ (คุณูปการ) ในการพัฒนากิจการของสมาคม และ/หรือเคยดารงตำแหน่งนายกสมาคม รองประธานกรรมการอาวุโส หรืออุปนายกสมาคม มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 สมัย

12.4 รองประธานกรรมการอาวุโส ต้องเป็นผู้ที่ได้แสดงผลงานดีเลิศ (คุณูปการ) ในการพัฒนากิจการของสมาคม และ/หรือเคยดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคม กรรมการอาวุโส หรือกรรมการบริหาร มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 สมัย

12.5 กรรมการอาวุโส ต้องเป็นผู้ที่ได้แสดงผลงานดีเลิศ (คุณูปการ) ในการพัฒนากิจการของสมาคมและ/หรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร กรรมการ หรือกรรมการกิตติมศักดิ์

ข้อ 13. ให้คณะกรรมการอาวุโส มีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ คือ

13.1 พิทักษ์ผลประโยชน์ของสมาคม และให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการในการปฏิบัติกิจการทั้งปวงตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่สมาคม

13.2 มีอำนาจประนีประนอมบรรดาข้อพิพาทของกรรมการ และแก้ไขบรรดาข้อบกพร่องต่าง ๆตามสมควร

13.3 ดำเนินการการรับและส่งมอบงาน ตราสาร และเอกสารสำคัญ ระหว่างคณะกรรมการชุดเก่า และชุดใหม่

ข้อ 14. ที่ประชุมใหญ่สมาชิก เลือกตั้งกรรมการไม่น้อยกว่า 31 คน ประกอบเป็นคณะกรรมการ สำหรับปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้ คือ

14.1 ดำเนินกิจการทั้งปวงของสมาคม

14.2 จัดทำและพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของสมาคม

14.3 แสวงหาเงินทุนสำหรับดำเนินกิจการ และกำหนดงบประมาณรายรับ-รายจ่ายต่าง ๆ ของสมาคม

14.4 เลือกตั้งระหว่างกันเองขึ้นเป็นกรรมการบริหาร

ข้อ 15. ให้คณะกรรมการเลือกตั้งบุคคลในคณะกรรมการ จำนวนไม่น้อยกว่า 16 คน เพื่อเป็นคณะกรรมการบริหาร และให้คณะกรรมการบริหารที่ได้รับเลือกมา เลือกตั้งบุคคลภายในคณะกรรมการบริหารเพื่อมาดำรงตำแหน่งนายกสมาคม จำนวน 1 คน ตำแหน่งอุปนายกสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่า 8 คน เลขาธิการ จำนวน 1 คน ตำแหน่งรองเลขาธิการ ไม่น้อยกว่า 2 คน ตำแหน่งเหรัญญิกจำนวน 1 คน ตำแหน่งรองเหรัญญิก จำนวน 1 คน ตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชี จำนวน 2 คน พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารอีกจำนวนหนึ่ง โดยให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ คือ

15.1 นายกสมาคม มีอำนาจหน้าที่ ดำเนินกิจการของสมาคมให้เป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบในการปฏิบัติงานของสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคม และลงนามในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ในกรณีที่นายกสมาคมพ้นจากตาแหน่งก่อนวาระ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และไม่ได้แต่งตั้งอุปนายกคนหนึ่งคนใดให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ให้อุปนายกในลำดับที่ 1 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน และให้อุปนายกผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประชุมร่วมกันกับประธานกรรมการอาวุโสเพื่อคัดเลือกผู้รักษาการแทนนายกสมาคม ภายใน 15 วัน นับแต่วันเข้ารับปฏิบัติหน้าที่แทนนายกสมาคม

15.2 อุปนายกสมาคม มีหน้าที่ช่วยเหลือนายกสมาคม และจัดการกิจการต่าง ๆ ของสมาคม อุปนายกสมาคมคนใดคนหนึ่ง อาจได้รับการแต่งตั้งจากนายกสมาคม ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนในกรณีที่อุปนายกคนใดคนหนึ่งพ้นจากตาแหน่งก่อนวาระ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งมาเป็นผู้รักษาการแทนในตำแหน่งที่ว่างลง

15.3 เลขาธิการ มีหน้าที่จัดการประชุมทั่วประเทศ จัดการประชุมสัมมนาภูมิภาค จัดการประชุมของสมาคม และรักษาเอกสารทั้งหมดของสมาคม รวมถึงจัดกิจการของสมาคมตามที่ได้รับมอบหมาย

15.4 เหรัญญิก มีหน้าที่ควบคุมดูแลการรับ-จ่ายเงินของสมาคม รักษาตั๋วเงิน สัญญา และเอกสาร สิทธิ์ ฯลฯ

15.5 ผู้ตรวจสอบบัญชี มีหน้าที่ตรวจสอบรายการรับ-จ่ายเงินทั้งหมดของสมาคม

ข้อ 16. ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้ คือ

16.1 คณะอนุกรรมการควบคุมดูแลอนุสรณ์สถานวงศ์ตระกูลลิ้ม

16.2 คณะอนุกรรมการควบคุมดูแลสุสานพญานาคราช

16.3 คณะอนุกรรมการควบคุมดูแลสุสานไซฮ้อ

16.4 คณะอนุกรรมการควบคุมดูแลทุนการศึกษา กำหนดจำนวนอนุกรรมการไม่ต่ากว่า 7 คน คณะอนุกรรมการมีหน้าที่พิจารณาทุนการศึกษาของลูกหลานสมาชิกตระกูลลิ้ม กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ผ่านที่ประชุมร่วมคณะกรรมการอาวุโสและคณะกรรมการของสมาคม และต้องได้รับการอนุมัติร่วมกัน

16.5 คณะอนุกรรมการควบคุมดูแลบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน กำหนดจำนวนอนุกรรมการไม่ต่ากว่า 9 คน คณะอนุกรรมการ ต้องนำเสนอแผนการบริหารการลงทุนเพื่อซื้อกองทุนหุ้นกู้ และเงินฝากจากเงินเก็บของสมาคม โดยผ่านที่ประชุมร่วมคณะกรรมการอาวุโส และคณะกรรมการของสมาคม ประชุมพิจารณาจัดสรรการกระจายเงินลงทุนอย่างน้อยสองกลุ่มการลงทุน กลุ่มการลงทุนละไม่น้อยกว่า 2 แห่ง เพื่อลดความเสี่ยง และต้องได้รับการอนุมัติร่วมกัน รวมถึงการวางแผนการรับ-จ่ายเงินของสมาคม

ให้คณะอนุกรรมการทุกคณะ จัดทำระเบียบของแต่ละคณะอนุกรรมการขึ้นใช้บังคับเป็นเอกเทศ และให้คณะกรรมการแต่งตั้งบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อดำรงตำแหน่งเป็นประธานและรองประธานคณะอนุกรรมการ ทั้งนี้ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการทั้งหมดจะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการอาวุโสและคณะ กรรมการของสมาคม ประชุมร่วมกันโดยมีนายกสมาคมเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง

ข้อ 17. ให้มีแผนกในคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้ คือ

17.1 แผนกจัดหาสมาชิก

17.2 แผนกสวัสดิการ

17.3 แผนกปฏิคม

17.4 แผนกประชาสัมพันธ์

17.5 แผนกส่งเสริมวัฒนธรรมและการศึกษา

17.6 แผนกประนีประนอมข้อพิพาท

17.7 แผนกบันเทิงและการกีฬา

17.8 แผนกสตรี

ให้แผนกทั้งหมด จัดทำระเบียบการของแต่ละแผนกขึ้นบังคับใช้ และให้คณะกรรมการของแต่ละแผนกแต่งตั้งบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้า และรองหัวหน้าของแต่ละแผนก ทั้งนี้ คณะกรรมการทั้งหมดของแต่ละแผนกจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสมาคม โดยมีนายกสมาคมเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง

ข้อ 18. สำนักงานที่ทำการ มีหน้าที่ดำเนินกิจการประจำวันของสมาคมตามคำสั่งคณะกรรมการ โดยให้มี

ผู้จัดการ จำนวน 1 คน รองผู้จัดการ จำนวน 1 คน เลขานุการ จำนวน 1 คน เสมียนบัญชีจำนวน 1 คน พนักงานรับ-จ่ายเงิน จำนวน 1 คน พนักงานธุรการ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 คน ทั้งนี้ เป็นไปตาม ความเหมาะสมและมติของคณะกรรมการ ส่วนตำแหน่งผู้จัดการให้นายกสมาคมเสนอชื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติแต่งตั้ง

ข้อ 19. คณะกรรมการอาจแต่งตั้งที่ปรึกษากิจการ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือกรรมการกิตติมศักดิ์ของ สมาคม ฯลฯ เพื่อช่วยเหลืองานของสมาคม พร้อมกันนั้น ให้คณะกรรมการมีสิทธิจัดตั้งสำนักงาน เพื่อติดต่อกับสมาชิกสมาคมในอาณาบริเวณที่มีสมาชิกหนาแน่น เพื่อติดต่อกับสมาชิกสมาคมในอาณาบริเวณที่มีสมาชิกหนาแน่น

ข้อ 20. กรรมการย่อมพ้นสภาพจากการเป็นกรรมการ ในกรณีดังต่อไปนี้ คือ

20.1 ถึงแก่กรรม

20.2 ลาออกจากความเป็นกรรมการสมาคมนี้ โดยความสมัครใจ

20.3 ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของสมาคม ทำลายชื่อเสียงของสมาคม หรือล่วงเกินสิทธิประโยชน์ของสมาคม

20.4 ต้องคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดให้ลงโทษจาคุก โดยไม่รอลงอาญา (ยกเว้นกรณีความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่กระทาโดยประมาท) หรือถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย

เว้นแต่ ที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมร่วมกันลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3ของคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม เห็นว่าเป็นบุคคลที่ไม่สมควรพ้นสภาพจากการเป็นกรรมการสมาคม

20.5 ครบกำหนดตามวาระ

20.6 เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือวิกลจริต

ข้อ 21. นอกจากเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้ตามข้อ 18. ซึ่งมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนแล้ว บุคคลในตำแหน่งอื่น ๆของสมาคม ย่อมหาอาจมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนใด ๆ จากการปฏิบัติหน้าที่ไม่

ข้อ 22. เมื่อกรรมการผู้ใดขาดจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งดังกล่าวขึ้นมาแทนโดยไม่ชักช้า

ข้อ 23. ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญสมาชิกปีละ 1 ครั้ง โดยประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือแจ้งแก่บรรดาสมาชิกเป็นหนังสือ หรือทางสื่ออิเล็คทรอนิคส์ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน เมื่อมีสมาชิกมาเข้าประชุมรวมกันไม่น้อยกว่า 40 คนจึงจะครบองค์ประชุมส่วนการประชุมใหญ่วิสามัญสมาชิก หากคณะกรรมการมีมติเห็นควร หรือสมาชิกสมาคมจำนวนไม่ต่ำกว่า 70 คน เข้าชื่อทำหนังสือระบุเหตุร้องขอต่อคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการเรียกประชุมวิสามัญสมาชิก ภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับหนังสือร้องขอ และเมื่อมีสมาชิกมาเข้าประชุมรวมกันไม่น้อยกว่า 100 คนจึงจะครบองค์ประชุม

ข้อ 24. ให้ประธานอำนวยการคณะกรรมการอาวุโส มีอำนาจเรียกประชุมคณะกรรมการอาวุโสได้ตามความจำเป็น ให้นายกสมาคมเรียกประชุมคณะกรรมการทุก 3 เดือน และหากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน นายกสมาคมมีอำนาจเรียกประชุมวิสามัญสมาชิก หรือเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารได้

ข้อ 25. ให้ประธานอำนวยการคณะกรรมการอาวุโส เป็นประธานที่ประชุมใหญ่สามัญสมาชิก และที่ประชุมคณะกรรมการอาวุโส ให้นายกสมาคมเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการและกรรมการบริหารให้ประธานคณะอนุกรรมการหรือหัวหน้าแผนกหรือชมรม เป็นผู้เรียกประชุมและเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการ แผนก และชมรมต่าง ๆแต่การประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการอาวุโส และคณะกรรมการ ให้นายกสมาคมเป็นผู้เรียกประชุม และให้ประธานอำนวยการคณะกรรมการอาวุโสเป็นประธานในที่ประชุม หากเป็นกรณีที่ประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมคัดเลือกประธานกรรมการอาวุโส หรือนายกสมาคม เป็นประธานการประชุมปฏิบัติหน้าที่แทน

ข้อ 26. การเรียกประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการไม่ต่ำกว่า 1ใน 4 มาเข้าร่วมประชุมจึงจะครบองค์ ประชุม

ข้อ 27. มติที่ประชุมทุกข้อ ให้ถือตามคะแนนเสียงข้างมากจึงมีผลใช้บังคับ หากคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด เว้นแต่ในกิจการที่ตามข้อบังคับสมาคมกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หากมีการประชุมระหว่างประเทศและภายในประเทศ ซึ่งไม่ได้ขอมติจากคณะกรรมการให้นายกสมาคม อุปนายกสมาคม ประธานกรรมการอาวุโสถาวร และประธานกรรมการอาวุโสร่วมกันปรึกษาลงมติ แล้วเสนอต่อคณะกรรมการอาวุโส และ คณะกรรมการเพื่อให้สัตยาบัน

ข้อ 28. การเลือกตั้งคณะกรรมการอาวุโส ใช้วิธีเสนอชื่อต่อที่ประชุม การเลือกตั้งคณะกรรมการให้ ใช้วิธีลงคะแนนเสียงแบบเปิดเผย และระบุชื่อผู้เลือกตั้ง

ข้อ 29. บัตรเลือกตั้งต้องประทับตราสารของสมาคม มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

ข้อ 30. ผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ต้องออกเสียงเลือกตั้งตามจำนวนผู้รับเลือกตั้งที่ได้กำหนดขึ้น ถ้าจำนวนผู้รับ เลือกตั้งที่ระบุในบัตรเลือกตั้งใดเกินจำนวนที่กำหนด หรือเป็นบัตรเลือกตั้งที่อ่านไม่ออก ให้ถือว่าบัตรนั้นเป็นโมฆะ

ข้อ 31. บัตรเลือกตั้ง ต้องให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งเป็นผู้ลงนามเอง มิฉะนั้นเป็นโมฆะ หากสมาชิกสมาคมไม่สามารถร่วมประชุมออกเสียงเลือกตั้ง อาจมอบหมายให้สมาชิกสมาคมคนหนึ่งเป็นตัวแทนร่วม ประชุม แต่จะเป็นตัวแทนให้บุคคลอื่นได้ไม่เกินหนึ่งเสียง

ข้อ 32. ก่อนเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ให้คณะกรรมการชุดเดิมเสนอชื่อ ประวัติของบุคคลนั้น และ รับรองส่งต่อคณะอนุกรรมการเลือกตั้งพิจารณา แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอาวุโส นายกสมาคม อุปนายกสมาคม ร่วมพิจารณากลั่นกรองอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญสมาชิก ประจำปีเพื่อเลือกตั้ง กรณีเลือกตั้งคณะ กรรมการอาวุโส ให้ประธานกรรมการอาวุโสถาวร ประธานอำนวยการคณะกรรมการอาวุโส ประธานกรรมการอาวุโส นายกสมาคมร่วมกันเสนอชื่อบุคคลต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีพิจารณาคัดเลือก ในขณะเลือกตั้ง สมาชิกสมาคมผู้ออกเสียงเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งบุคคลที่ตนเห็นสมควรโดยไม่ต้องถือตามรายชื่อในบัตรเลือกตั้ง

ข้อ 33. ผลการเลือกตั้งให้ประธานที่ประชุมและหัวหน้าผู้ควบคุมบัตรเลือกตั้งร่วมกันลงนาม ประกาศผลการเลือกตั้ง และปิดผนึกเก็บบัตรเลือกตั้งไว้เป็นเวลา 2 ปี

ข้อ 34. การส่งมอบงานระหว่าง ประธานคณะกรรมการอาวุโสและคณะกรรมการทั้งชุดเก่าและชุดใหม่ ต้องกระทำให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้งเสร็จสิ้น

ข้อ 35. คณะกรรมการอาวุโส และคณะกรรมการ มีวาระการดำรงตำแหน่ง สมัยละ 2 ปี เว้นแต่ ประธานอำนวยการคณะกรรมการอาวุโสจะดำรงตำแหน่งได้คราวละไม่เกิน 1 สมัย (2 ปี) และนายกสมาคม จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย (รวม 4 ปี) ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งในระหว่างสมัย การหมดวาระให้เป็นไปตามวาระของสมัยนั้น ๆ

ข้อ 36. ค่าใช้จ่ายของสมาคมมาจากรายรับต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

36.1 ค่าธรรมเนียมที่สมาชิกได้ชำระ

36.2 เงินบำรุงและเงินบริจาคประเภทต่าง ๆ

36.3 ผลประโยชน์รายรับและดอกผลจากทรัพย์สินของสมาคม

36.4 เงินบำรุงจากคณะกรรมการอาวุโส และคณะกรรมการ

ข้อ 37. วิธีการดำเนินทางการเงินของสมาคม มีดังต่อไปนี้ คือ

37.1 รายรับต่าง ๆ ต้องฝากเข้าบัญชีธนาคารในนามของสมาคมฯ ซึ่งคณะกรรมการกำหนดขึ้น

37.2 การเบิกเงินฝากจากธนาคาร ต้องให้นายกสมาคมหรืออุปนายกสมาคมที่ได้รับแต่งตั้งคนใด

คนหนึ่ง พร้อมด้วยเหรัญญิกหรือรองเหรัญญิก ร่วมกันลงนามจึงจะมีผลบังคับ

37.3 ใบเสร็จของสมาคม ต้องให้นายกสมาคม เหรัญญิก และผู้จัดการทุกคนลงนาม หรือประทับตราชื่อบุคคลนั้น และผู้รับเงินต้องลงนามจึงจะมีผลบังคับ

37.4 สิทธิการจ่ายเงิน ในกรณีต่ำกว่า 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ให้ผู้จัดการสั่งจ่ายได้ ส่วนกรณีเกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ให้นายกสมาคมสั่งจ่ายได้ ถ้าเกิน 500,000 บาท(ห้าแสนบาทถ้วน) แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ต้องให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารอนุมัติ และมอบอานาจให้นายกสมาคมสั่งจ่าย ถ้าเกิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) ต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมกรรมการ และมอบอานาจให้นายกสั่งจ่ายได้ ในกรณีถ้าเกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป (สองล้านบาทถ้วน) ต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการอาวุโส และคณะกรรมการประชุมร่วมกัน และมอบอานาจให้นายกสมาคมเป็นผู้สั่งจ่าย

ข้อ 38. บัญชีการรับ-จ่ายเงิน ผู้รับผิดชอบต้องแสดงรายการรับ-จ่าย เงิน ของแต่ละเดือน และเสนอให้คณะกรรมการก่อนการประชุมคณะกรรมการให้ทราบ ส่วนงบดุลแต่ละปีเมื่อผ่านการตรวจสอบ แล้วให้ เสนอที่ประชุมใหญ่สมาชิกพิจารณาอนุมัติต่อไป

ข้อ 39. ชมรมลูกหลานตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย ก่อตั้งโดยคณะกรรมการอาวุโส สมัยที่ 19 และกรรมการ

บริหารสมัยที่ 28 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยยึดถือข้อบังคับของชมรมลูกหลานตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทยเป็นข้อปฏิบัติ

ข้อ 40. ชมรมบัณฑิตตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย ให้เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาของลูกหลานสมาชิกของสมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย

ข้อ 41. บุคคลที่ทำคุณประโยชน์พิเศษ มีคุณูปการต่อทางสมาคม หรือผู้ที่ได้แสดงผลงานดีเลิศในการพัฒนากิจการของสมาคม อาจได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งกิตติมศักดิ์ขึ้น ดังนี้ คือ

41.1 ประธานกรรมการอาวุโสกิตติมศักดิ์ถาวร

41.2 ประธานกรรมการอาวุโสกิตติมศักดิ์

41.3 ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ถาวร

41.4 ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

รวม 4 ประเภท การเชื้อเชิญบุคคลมาดำรงตำแหน่ง กิตติมศักดิ์ ให้นายกสมาคมเป็นผู้ลงนามโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการ บรรดากรรมการกิตติมศักดิ์ทั้งหลายนี้ไม่มีสิทธิออกเสียงใด ๆ

ข้อ 42. การโอนจาหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของสมาคมจะกระทำมิได้ (เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สามัญหรือวิสามัญสมาชิก) แต่สามารถหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ได้

ข้อ 43. นอกจากการเลิกสมาคมตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามคำสั่งศาลแล้ว การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็แต่โดย มติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม โดยจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของ สมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด เมื่อสมาคมเป็นอันต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่ หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมของสมาคม

ข้อ 44. ข้อบังคับนี้ หากมีที่ซึ่งสมควรแก้ไขเปลี่ยนแปลง ให้เสนอต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิก เพื่อให้มีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด

ข้อ 45. หนังสือสัญญาหรือนิติกรรมใด ๆ ที่ได้กระทำลงในนามของสมาคม จะมีผลผูกพันสมาคมก็ต่อเมื่อหนังสือสัญญาหรือนิติกรรมนั้น ๆ ไม่เป็นการขัดกับวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ มติ และระเบียบของสมาคม

ข้อ 46. หากการใดมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมนี้ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วย สมาคม มาใช้บังคับโดยอนุโลม และหากมีข้อบังคับใดของสมาคมขัดกับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อ 47. ข้อบังคับนี้ได้ทำขึ้นเป็นภาษาไทยและภาษาจีน หากมีข้อขัดแย้งหรือกรณีเป็นที่สงสัย ให้ใช้ภาษาไทยเป็นบทตีความการตีความข้อบังคับของสมาคม หากกรณีเป็นที่สงสัยให้ที่ประชุมใหญ่โดยเสียงข้างมากของที่ประชุมชี้ขาด

ข้อ 48. ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับโดยผ่านมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่สามัญสมาชิก เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2561 และให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม

รับข่าวสาร และ ร่วมกิจกรรม

สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย